วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยการบวชลูกแก้ว

ประเพณีการบวชลูกแก้ว

ประเพณีไทย บวชลูกแก้ว หรือปอยส่างลอง หมายถึง ประเพณีบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ซึ่งพบเห็นกันตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอขุนยวม อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้ที่เข้าร่วมประเพณีนี้สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่

งานบวชลูกแก้ว เป็นพิธีเฉลิมฉลองการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธ จัดงานประมาณ 3 วัน หรือ 5 – 7 วัน นิยมจัดในช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ชาวบ้านเว้นว่างจากทำนาทำไร่ และปิดเทอม ในการบรรพชาเป็นสามเณรครั้งนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ก่อนถึงวันส่างลองหนึ่งวัน เด็กผู้ชายที่เข้าร่วมต้องปลงผมและอาบน้ำ เจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ อย่างอลังการ


คลิปประเพณีไทย ปอยส่างลอง (บวชลูกแก้ว)
วันแรกของปอยส่างลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปรอบๆ เมืองตามถนนหนทาง ขบวนแห่ประกอบด้วยเสียงดนตรีของชาวไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลอง-มองเซิง (กลองสองหน้า) แต่เดิมลูกแก้วจะขี่ม้า แต่ม้าหายากจึงเปลี่ยนมาเป็นการนั่งเก้าอี้แทน เพราะลูกแก้วเปรียบเสมือนเทวดา ต้องใส่ถุงเท้าขาวตลอด 3 วัน ห้ามมิให้ลูกแก้วเหยียบพื้น วันที่สองก็เป็นขบวนแห่ด้วยเครื่องสักการะเพื่อถวายพระพุทธและเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ วันที่สามเป็นวันบวช ก็เริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปวัดเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง เป็นสามเณรโดยสมบูรณ์

ประเพณีไทยเลี้ยงผี

ประเพณีไทย

ประเพณีเลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือน 4 ของไทยภาคกลาง)จนถึงเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ไปแล้ว
ประเพณีไทยเลี้ยงผี
ประเพณีไทยเลี้ยงผี 
เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมู เป็ด ไก่ ขนมและอาหารอื่น ๆ ไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลีย้งผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง" ผีมด คือ การทำพิธีที่ผู้จัดต้องสร้างประรำขึ้น ที่หลังคาประจำจะมีข้าวพองผูกติดไว้เพื่อสำหรับผีเข้าคนทรางยิงด้วยธนู ผีเม้ง คือ การทำพิธีที่ผู้จัดจะสร้างประรำแบบกระโจม และมีเชือกมัดแขวนไว้ตรงกลางประรำ สำหรับให้ผู้ที่จะมาฟ้อนรำถวายจับเชือกนั้น
ในการฟ้อนรำถวายผีแบบผีเม้งนี้ ผู้ที่จะเข้าฟ้อนรำถวายต้องแต่งตัวตามโบราณ คือ นุ่งโสร่งกระโจมอก พันศรีษะด้วยผ้าสีต่าง ๆ และบ้างก็ทัดดอกไม้ที่หู

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเพณี

ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเป็นเอกลักษณ์ เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ท่าทาง ฯลฯ เป็นต้น อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ
ประเพณีไทยภาคเหนือ
ประเพณีไทยภาคเหนือ-ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน-ขบวนแห่บั้งไฟ

ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคกลาง ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ ภาคใต้ ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย เป็นต้น ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ประเพณีไทยภาคกลาง
ประเพณีไทยภาคกลาง-ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

ประเพณีไทยภาคใต้
ประเพณีไทยภาคใต้-ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย


ประเพณีไทย 4 ภาค