แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย 4 ภาค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย 4 ภาค แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คลิปประเพณีไทย

clip ประเพณีไทย

 
ฮีตสิบสอง ประเพณีไทย
 
ราชินีแห่งงานประเพณีไทย Thai Northeast Folk Music 
 

สืบสานประเพณีไทย ภาค 1  
เขยฝรั่งแต่งงานประเพณีไทยอีสาน  
รอบรู้ ประเพณีไทย บ้านสอบครู อ บวร

สยามนาวา วัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เรือยาวประเพณีไทย

ประเพณีไทย 4 ภาค

ขอบคุณข้อมูล : youtube

ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีไทยชิงเปรต

ชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญนั้น พิธีกรรม
ประเพณีไทยชิงเปรต

การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัดหลักๆก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ (ดีซำ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน “ร้านเปรต” หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้
 
ประเพณีไทย

การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐ ๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า ๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ ๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน ๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ ๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน การชิงเปรต เป็นประเพณีไทยที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทยปอยส่างลอง

ปอย ส่างลอง” เป็นงานประเพณีไทยบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีไทยที่มีมาดั้งเดิม พิธีกรรม
ประเพณีไทยปอยส่างลอง

มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร

๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ วัน แรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วัน ที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่ วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย



ประเพณีไทย

๑. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๒. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
๓. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๔. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๕. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๖. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๗. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีภาคอีสาน บางทีเรียกว่า "เฮือไฟ" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา เพื่อบูชารอยพระพุธทบาทของพระสัมมาสัมพุธเจ้า โดยประวัติความเป็นมานั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปแสดงธรรมเทศนาพญานาค ณ เมืองบาดาล ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และพญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ ซึ่งต่อมาทั้งเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งได้ได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาแม่น้ำที่ได้ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล ลงในแม่น้ำ และเป็นการเผาเอาความทุกข์ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมจัดกันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนของเรื่อไฟจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ โดยจะนำไม้ที่ลอยน้ำมาผูกติดกับแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ จะอยู่ส่วนบนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ยาวตั้งล้ำขึ้นทั้ง 3 ลำ ซึ้งใช้สำหรับรับน้ำหนังไม้ไผ่เล็กๆ ที่ผูกรวมยืดกันไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียกแผง และวางแผนงานว่าจะออกแบบแผงออกเป็นรูปอะไร ซึ่งในสมัยก่อนนิยมออกแบบเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา

ประเพณีวันออกพรรษาของไทย

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษาของไทย ตรงกับวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นวันที่พระภิกษุสงฑ์ต้องอยู่จำวัดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หมายถึง วันที่พระภิกษุต่างตักเตือนซึ้งกันและกันโดยไม่มีการโกรธเคือง กล่าวถึงเรื่องบกพร่องต่างๆ


ในระยะเวลา 3 เดือนที่ได้อยู่ร่วมกัน และผู้ที่ถูกกล่าวเตือนต้องยอมรับและพิจรณาตนเอง ซึ่งผู้ที่กล่าวตักเตือนนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่มีความปราถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าว หลักการปฏิบัตินี้สามารถนำมาปฏิบัติหรือใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนหรือการพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี ประเพณีไทย