ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีไทยผีตาโขน

1. ประเพณีผีตาโขน ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี ความสำคัญ การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ ผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและ นางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่า และสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และนางมัทรีกลับเมืองซึ่งเรียกกันว่า ผีตามคน หรือ ผีตาขน
ประเพณีผีตาโขน
ประเพณีผีตาโขน
1. ประเพณีผีตาโขน ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี ความสำคัญ การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ ผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและ นางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่า และสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และนางมัทรีกลับเมืองซึ่งเรียกกันว่า ผีตามคน หรือ ผีตาขน
ผีตาโขน : ประเพณีท้องถิ่น จังหวัดเลย

ประเพณีผีตาโขน พิธีกรรม มีการจัดทำพิธี 2 วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง

 โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด 3 รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ผีตาโขน จะแบ่งเป็น 2 ชนิด

คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนใหญ่ จะสานมาจากไม่ไผ่มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่าแล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ในการทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัวคือชายหนึ่งตัว และหญิงอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขน ใหญ่จะต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาต แล้วต้องทำผีตาโขนใหญ่ทุกๆ ปีหรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีเพราะว่าคนที่ไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น ผีตาโขนเล็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือ

ผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็กเพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อนข้างผาดโผนผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผีปีศาจ ที่สวมศีรษะด้วยที่นึ่งข้าวเหนียวหรือว่ากระติ๊บข้าวเหนียวนั่นเอง และใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่

สาระ การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น

คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น


 2. ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคม


ความสำคัญ ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล


 พิธีกรรม บุญบั้งไฟ หรือชาวบ้านชอบเรียกงาน บุญบั้งไฟ ว่าบุญเดือนหก จะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล จะได้ทำให้พืชผลทางการเกษตร การทำไร ทำนาไดผลอุดมสมบูรณ์ และเพื่อบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนตกอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านคนไทยและ คนลาวมีความเชื่อว่าพญาแถนคือเทพเจ้าแห่งฝน

การจุดบั้งไฟจึงเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน บันดานให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อมีเรื่องเล่าว่า มีเทพนามว่า วัสสกาลเทพบุตร ประทับอยู่ ณ บนสวรรค์ซึ่งจะคอย ดูแลเรื่องน้ำฟ้า น้ำฝน ใครทำถูก ทำชอบ พระองค์ก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำเรื่องที่ไม่ดี พระองค์ก็จะไม่ประทานน้ำฝนให้ และพระองค์ก็มีความ ชื่นชอบการบูชาด้วยไฟ จังเป็นเหตุให้คนไทยในภาคอีสาน มีการบูชาไฟด้วยการจุดบั้งไฟ จึงเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอด กันมารุ่นแล้ว รุ่นเล่าจนถึงทุกวันนี้ บั้งไฟ เป็นการนำเอากัมมะถัน ประกอบด้วย ดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปอัดแน่นในกระบอก


งาน บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะทำการนัดหมายกัน โดยการทำบุญเลี้ยงพระเพล และประมาณ 3 โมงเย็นหรือ 15.00 น. โดยประมาณทางวัดก็จะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกคนได้รู้ว่างาน บุญบั้งไฟ ได้เริ่มแล้วให้นำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำรถบรรทุกใส่บั้งไฟ แห่เป็นขบวนไปรอบเมือง ในขบวนแห่ก็จะมีการแต่งตัว การแสดงในท่าทางต่าง ๆ เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานแล้วนำบั้งไฟกลับไปที่วัดที่จัดการแข่งขันบั้งไฟ ซึ่งบั้งไฟก็มีการแบ่งตามขนาดที่กำหนดโดยทั่วไปนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาด คือ

บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นบรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสน บรรจุดินดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ในความเชื่อถ้าบั้งไฟขึ้นสูงนั่นก็หมายความว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขั้นก็หมายความ ว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูเป็นต้น


 สาระ
1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
 4. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร

-ขอบคุณข้อมูล : ประเพณีไทยภาคอีสาน-