แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประวัติประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประวัติประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยและประวัติวันลอยกระทง 2555

ประเพณีไทยและประวัติวันลอยกระทง 2555




การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้
      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและ ลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่ง บรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยว แก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน


      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย

      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา


ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง  


คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล


ประวัติวันลอยกระทงในประเทศไทย


วันลอยกระทง 2554 

การลอยกระทงในประเทศไทยมีมาตั้วแต่ครั้งสุโขทัย 
      การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็น งานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสาย หนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท


      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)


      รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธ ประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
      1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
      2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี


ลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี



     เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะ มหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณี เจดียสถานในเทวโลก พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก 

       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

กำหนดการวันลอยกระทง

     วันลอยกระทง จัดขึ้นในทุกวันเพ็ญเดือนสิบสองของปี เป็นวันที่น้ำเต็มตลิ่ง วันเพ็ญซึ่งเป็นวันสว่าง และเดือนสิบสองที่มีน้ำเต็มตลิ่ง เหมาะกับการลอยกระทง
กระทงสำหรับลอยบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

1. กระทงใบตอง ปักด้วยเทียน เป็นการบูชาพระสัมาสัมพุทธเจ้าด้วยแสงสว่าง
2. กระทงโฟม ต่อมามีโฟมก็เลือกใช้โฟม
3. กระทงสาย ทำจากกะลามะพร้าว ที่ขัดให้สะอาดและหลอมเทียนพรรษาใส่ลงไปในกะลาจุดเทียนแล้วลอยลงแม่น้ำ ไหลตามกันเป็นสายตามร่องแม่น้ำปิง ซึ่งมีสันทรายอยู่ใต้น้ำ จึงเรียกกระทงสาย ซึ่งประเพณีของจังหวัดตาก

จุดประสงค์ของการจุดดอกไม้ไฟในวันลอยกระทง

     สมัยโบราณเดิมทีเดียวยังไม่มีการจุดดอกไม้ไฟ แต่เป็นการเพิ่มเติมมาทีหลัง เพื่อสร้างความคักคักสนุกสนาน

การลอยกระทง เรา ควรจะนึกถึง เป้าหมายดั้งเดิมของประเพณี คือ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นึกถึงคุณของน้ำ และบริหารจัดการน้ำอย่างถูกหลัก ขณะเดียวกันให้ระมัดระวังเรื่องเมาสุรา ทะเลาะวิวาท ปัญหาชายหญิง ก็จะเป็นการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามไว้
ลอยกระทงปีนี้ มาลอยกระทงออน์ไลน์กัน
 
 
 
 
  
 
  

  





 
 
 
 

 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คลิปประเพณีไทย

clip ประเพณีไทย

 
ฮีตสิบสอง ประเพณีไทย
 
ราชินีแห่งงานประเพณีไทย Thai Northeast Folk Music 
 

สืบสานประเพณีไทย ภาค 1  
เขยฝรั่งแต่งงานประเพณีไทยอีสาน  
รอบรู้ ประเพณีไทย บ้านสอบครู อ บวร

สยามนาวา วัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เรือยาวประเพณีไทย

ประเพณีไทย 4 ภาค

ขอบคุณข้อมูล : youtube

ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีไทยชิงเปรต

ชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญนั้น พิธีกรรม
ประเพณีไทยชิงเปรต

การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัดหลักๆก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ (ดีซำ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน “ร้านเปรต” หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้
 
ประเพณีไทย

การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐ ๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า ๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ ๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน ๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ ๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน การชิงเปรต เป็นประเพณีไทยที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทยปอยส่างลอง

ปอย ส่างลอง” เป็นงานประเพณีไทยบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีไทยที่มีมาดั้งเดิม พิธีกรรม
ประเพณีไทยปอยส่างลอง

มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร

๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ วัน แรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วัน ที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่ วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย



ประเพณีไทย

๑. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๒. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
๓. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๔. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๕. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๖. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๗. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีภาคอีสาน บางทีเรียกว่า "เฮือไฟ" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา เพื่อบูชารอยพระพุธทบาทของพระสัมมาสัมพุธเจ้า โดยประวัติความเป็นมานั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปแสดงธรรมเทศนาพญานาค ณ เมืองบาดาล ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และพญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ ซึ่งต่อมาทั้งเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งได้ได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาแม่น้ำที่ได้ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล ลงในแม่น้ำ และเป็นการเผาเอาความทุกข์ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมจัดกันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนของเรื่อไฟจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ โดยจะนำไม้ที่ลอยน้ำมาผูกติดกับแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ จะอยู่ส่วนบนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ยาวตั้งล้ำขึ้นทั้ง 3 ลำ ซึ้งใช้สำหรับรับน้ำหนังไม้ไผ่เล็กๆ ที่ผูกรวมยืดกันไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียกแผง และวางแผนงานว่าจะออกแบบแผงออกเป็นรูปอะไร ซึ่งในสมัยก่อนนิยมออกแบบเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเพณี

ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเป็นเอกลักษณ์ เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ท่าทาง ฯลฯ เป็นต้น อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ
ประเพณีไทยภาคเหนือ
ประเพณีไทยภาคเหนือ-ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน-ขบวนแห่บั้งไฟ

ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคกลาง ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ ภาคใต้ ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย เป็นต้น ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ประเพณีไทยภาคกลาง
ประเพณีไทยภาคกลาง-ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

ประเพณีไทยภาคใต้
ประเพณีไทยภาคใต้-ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย


ประเพณีไทย 4 ภาค